รูปที่ 1 ข้าวหนุกงา

(ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/dearntemdoung/2009/10/08/entry-2)

 

ข้าวหนุกงา  (หนุก แปลว่า คลุกหรือนวด)  มีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น ข้าวงา ข้าวหนึกงา ข้าวแดกงา แต่กระบวนการทำและวัตถุดิบที่ใช้ก็ไม่ต่างกัน งาที่เอามาใช้หนุกหรือคลุกคือ “งาขี้ม้อน” ซึ่งมีลักษณะจะเป็นงาเม็ดกลมเล็กยิบๆ เหมือนลูกปัดหรือทราย สีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla frutescens (L.) Britton  จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)  งาขี้ม้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน งาปุก (คนเมือง), แง (กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ง้า (ลั้วะ), งาเจียง (ลาว), งาม้อน เป็นต้น ให้ผลผลิตมากในช่วงต้นฤดู ก่อนที่จะนำงามาตำก็ต้องทำการ “ตาว” การตาวก็คือการคัดเอาสิ่งเจือปนออก เช่น เศษหิน ดิน ทราย โดยเอาไปแช่น้ำ เศษต่าง ๆ จะจม เหลือเฉพาะงาขี้ม้อนที่ลอยอยู่  หลังจากนั้นก็นำมาตากให้แห้งแล้วเอามาคั่วไฟให้หอมๆ นำมาตำใส่เกลือเล็กน้อยคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ ข้าวเหนียวนึ่งต้องเป็นข้าวออกใหม่ ในช่วงฤดูหนาวของล้านนา นอกจากข้าวหลามเผาสุกใหม่แล้ว ข้าวหนุกงายังเป็นอาหารว่างที่เด็กๆ ผู้ใหญ่จะตำข้าวหนุกงาไว้ให้เด็กๆ กินกันหลังจากที่นึ่งข้าวสุก ในตอนเช้าตรู่ ในปัจจุบันมีลักษณะการรับประทานที่ประยุกต์ต่างกันออกไป เช่น หยอดกะทิใส่ข้าวหนุกงาเล็กน้อย บางท้องถิ่นอาจจะทำพิเศษขึ้นไปอีกคือเอาข้าวหนุกงาที่ตำจนเป็นแป้ง เหนียวนั้นมาแผ่คลึงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเอาย่างไฟ พอแป้งโดนความร้อนก็จะพองตัว และมีผิวนอกที่กรอบ จากนั้นก็เอาน้ำอ้อยมาราดก็จะได้ขนมที่หวานมันและเค็มปะแล่มๆ เรียกกันว่า ข้าวงาปิ้ง หรือข้าวหนุกงาปิ้ง ก็มี

Image result for ข้าวหนุกงาแผ่น

รูปที่ 2 ข้าวหนุกงาแผ่น

(ที่มา http://www.smileconsumer.com/2012/02/งาขี้ม้อน-งาหนุกข้าว-perilla)

 

คุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition Facts)

ปริมาณสารอาหารในข้าวหนุกงา 100 กรัม

1.       พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่

2.       โปรตีน 0.4 กรัม

3.       ไขมัน 1.4 กรัม

4.       คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม

ที่มา คุณค่าทางโภชนาการอาหาร (2558)

 

สรรพคุณของงาขี้ม้อน

มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง กรดนี้สามารถช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็ง ป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดบางชนิด งา มีแคลเซียมมากกว่าพืชผักทั่วไปถึง 40 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักทั่วไปถึง 20 เท่า งา ยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี ช่วยแก้อาการไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบประสาท เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา ปวดเส้นตามตัว แขน ขา เบื่ออาหาร ท้องผูก เมื่อยสายตา ควรหันมารับประทานงาเป็นประจำ ที่สำคัญงายังเป็นอาหารต้านมะเร็งอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า สาร "เซซามอล" (sesamol) ที่มีอยู่ในงานั้นป้องกันมะเร็งได้ และยังทำให้ร่างกายแก่ช้าลงอีกด้วย

ที่มา http://www.sri.cmu.ac.th/~elanna/lannachild/scripts/food/khanom/khaonuk.html

 

ส่วนผสมข้าวหนุกงา

1.  ข้าวสารเหนียว           1        ลิตร

2.  งาขี้ม้อน                  1/2     ถ้วย

3.  เกลือป่น                  1        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

1. ข้าวสารเหนียวล้างให้สะอาด แช่น้ำไว้ 1 คืน
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

2. ล้างข้าวที่แช่ไว้ นึ่งไฟกลางประมาณ 25 - 30 นาที
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

3. พอข้าวนึ่งสุก เทลงในภาชนะ คนข้าวให้ไอร้อนลดลง ก่อนบรรจุไว้ในกล่องข้าว เพื่อเก็บความร้อน 
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

4. คั่วงาขี้ม้อน ใช้ไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

5. โขลกงาขี้ม้อนและเกลือให้ละเอียด 
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

6. ใส่ข้าวเหนียวร้อนๆ ลงโขลกรวมกัน 
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

7. นวดข้าวหนุกงาจนเป็นเนื้อเดียวกัน
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

ที่มา http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=193

เอกสารอ้างอิง

รัตนา พรหมพัย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร. (2558). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ก่องกานดา ชยามฤต. (2540). หนังสือสมุนไพรไทย ตอนที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

จดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร.  “งาม้อนพืชวิเศษสุดให้โอเมก้า 3 ทดแทนปลาทะเลน้ำลึก”.  (พรรณผกา รัตนโกศล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: it.doa.go.th/pibai/.  [21 ธันวาคม 2559].

อาหารพื้นบ้านล้านนา, กรมวิชาการเกษตร.  “งาขี้ม้อน”.  อ้างอิงใน: เว็บไซต์โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: library.cmu.ac.th/ntic/lannafood../.  [21 ธันวาคม 2559].

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร.  “งาขี้ม้อน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.agriman.doae.go.th.  [21 ธันวาคม 2559].