น้ำพริกหนุ่ม เป็นอาหารล้านนาที่รู้จักกันมาช้านาน ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีการคิดค้นเมนูน้ำพริกหนุ่มขึ้นมาเมื่อไหร่ เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น พริกหนุ่ม คือ พริกชนิดหนึ่ง ชื่อสายพันธุ์ว่า "พริกหนุ่ม" พริกหนุ่มเป็นพริกที่มีความเผ็ดไม่มากเท่าพริกอื่นๆ ผลของพริกหนุ่มไม่ว่าจะเป็นผลแก่หรือผลสุกก็จะมีลักษณะเป็นผลสีเขียว (รัตนา, 2542) นำมาย่างโขลกใส่ส่วนผสม เมื่อปรุงน้ำพริกหนุ่มเรียบร้อยแล้วสามารถรับประทานควบคู่กับเมนูอื่นๆได้หลากหลายเมนู เช่น น้ำพริกหนุ่มกินคู่กับแคบหมู ผัก ข้าวเหนียว บางสูตรมีการใส่ปลาร้าสับหรือใส่กะปิแล้วย่างไฟ เพื่อเพิ่มความหอมและรสชาติกลมกล่อมของปลาร้าหรือกะปิ หรือใส่น้ำปลากับเกลือ (ที่มา: http://xn--12c1cbsrj1ducu7b7ld6c.blogspot.com/2014/04/history-namprik-num.html)
พริกหนุ่ม หรือ พริกมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum annuum var. acuminatum Fingerh (ที่มา: http://www.thai-nutrient.com/?page=mat&genlangmat=01122014122020&mattype= 3#ad-image-0) พริกหนุ่มที่ใช้ทำน้ำพริกหนุ่มมีหลายสายพันธุ์ได้แก่ (รัตนา, 2542)
1. พันธุ์แทงโก้ พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม แตกพุ่มดี ผลดก ผลอ่อนสีเขียวเข้มเมื่อแก่สีแดงเข้ม ความยาวผล 9-12 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุ 60-70 วันหลังย้ายปลูก เหมาะสำหรับบริโภคสดและส่งโรงงานอุตสาหกรรม
2. พันธุ์ 7216 พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม
3. พันธุ์ไวต้าเอส พริกหนุ่มเขียว
4. พันธุ์จอมทอง 2 พริกหนุ่มเขียว
5. พันธุ์สะบันงา พริกหนุ่มขาว
6. ซุปเปอร์ฮอท สีแดงเข้ม เนื้อหนา รสเผ็ด นิยมบริโภคสด
พริกหนุ่มเป็นพริกที่มีความเผ็ด แต่ไม่มากเท่าพริกอื่นๆ ผลของพริกหนุ่มไม่ว่าจะเป็นผลแก่หรือผลสุกก็จะมีลักษณะเป็นผลสีเขียว คนส่วนมากจะนำมาทำน้ำพริกหนุ่ม เพื่อรับประทานกันแคบหมูเป็นอาหาร ประจำภาคเหนือ (ที่มา: http://www.thai-nutrient.com/?page=mat&genlangmat=01122014122020 &mattype= 3#ad-image-0) นอกเหนือจากการใช้พริกหนุ่มมาทำเป็นน้ำพริกหนุ่มแล้วยังมีการใช้พริกสายพันธุ์อื่นๆ มาทำเป็นน้ำพริกหนุ่มด้วย เช่น พริกชี้ฟ้า พริกหยวก และพริกจักรพรรดิ์ เป็นต้น
การทำน้ำพริกหนุ่ม (รัตนา, 2542)
ส่วนผสม
1.พริกหนุ่มย่างไฟ 5 เม็ด
2.หอมแดงย่างไฟ 5 หัว
3.กระเทียมย่างไฟ 8 กลีบ
4.เกลือ 1/2 ช้อนชา
5.ผักชีซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
6.ต้นหอมซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
เครื่องเคียง
1.แค
2.ถั่วฝักยาว
3.กระถิน
4.มะเขือเปราะ
5.มะเขือยาว
วิธีทำ
1. ย่างพริก กระเทียม และหอมแดง แกะเปลือกออก
2. โขลกส่วนผสมและเกลือ รวมกันให้ละเอียด
3. โรยหน้าน้ำพริกด้วยผักชีต้นหอม
เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม (รัตนา, 2542)
ย่างกับถ่านไม้ จะทำให้น้ำพริกมีกลิ่นหอม รสชาติดี ถ้าไม่ชอบเผ็ดควรเอาไส้พริกออก จะช่วยให้เผ็ดน้อยลง
ประโยชน์/สรรพคุณ
พริกหนุ่ม: แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม เจริญอาหาร มีสารแคปไซซิน ซึ่งช่วยระบบหายใจ ความดันโลหิต และหัวใจ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ลดกรดในกระเพาะ ขับเหงื่อ ลดน้ำหนักตัวได้ดี ลดอาการหวัดคัดจมูก สารต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็ง และโรคหัวใจ ช่วยทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดี (ที่มา: http://www.thai-nutrient.com/?page=mat&genlangmat=01122014122020&mattype=3#ad-image-0)
หอมแดง: ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย รักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (ที่มา: http://beezab.com/tag/ประโยชน์ของหอมแดง)
กระเทียม: ช่วยบำรุงผิวหนัง ให้มีสุขภาพผิวดี ช่วยการเจริญอาหาร ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย บำรุงเลือด ลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยในการละลายลิ่มเลือด มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกและช่วยปรับสมดุลในร่างกาย (http://baabaaborbor.blogspot.com/2017/04/blogpost_68.html)
ต้นหอม: มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันไขมันไม่ให้เกาะตามผนังเส้นเลือด ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน นอกจากนั้นยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและยังไปเพิ่มหรือช่วยสร้างคอเลสเตอรอลดี หรือ HDL ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันได้อีกด้วย (ที่มา: http://www.thaiarcheep.com/ต้นหอม-สรรพคุณมากมายจนค.html)
ผักชี: ช่วยขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้ปวดหัว แก้ไอ แก้หวัด และลดไข้ คุณค่าสารอาหารอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม และเส้นใยอาหาร ยังทำให้การกินผักชีได้ประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งดีต่อกระดูก ระดับความดันโลหิต และระบบขับถ่าย (http://prayod.com/ผักชี-coriander/)
งานวิจัย
•โภชนาการน้ำพริกหนุ่ม
สิริพริมา (2557) ทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในน้ำพริกหนุ่มแบบตักขาย(บรรจุถุงพลาสติก) และแบบใส่ภาชนะปิดสนิท (บรรจุขวดแก้ว) ที่จากหน่ายในตลาดสด เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พบว่าปริมาณโซเดียมน้ำพริกหนุ่มมีระหว่าง 940.66-1092.12 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม คิดเป็นร้อยละ 39.19-45.50 อาจเป็นเพราะเครื่องปรุงที่นำมาปรุง ได้แก่ เกลือ น้ำปลา หรือ ผงชูรส
• เทคโนโลยีการแปรรูป
กมลรัตน์ (2551) ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดลงน้ำพริกหนุ่มในระหว่างการแปรรูป ในขั้นตอนก่อนกำจัดอากาศ หลังกำจัดอากาศ และหลังฆ่าเชื้อ พบว่า น้ำพริกที่ผ่านการฆ่าเชื้อมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก ความสามารถการฟอกจางสีอนุมูลดีพีพีเอช และความสามารถในการดักจับไอออนเหล็กมากที่สุด ส่วนน้ำพริกหนุ่มก่อนกำจัดอากาศ มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวมมากที่สุด
ธัญรัตน์พร (2551) ทำการศึกษาน้ำพริกหนุ่มจากพริกพันธุ์แม่ปิงบรรจุในรีทอร์ทเพาซ์พาสเจอร์ไรซ์ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3, 5 และ 7 นาที ซึ่งไม่พบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราในน้ำพริกหนุ่มพาสเจอร์ไรซ์ที่เวลา 5 และ 7 นาที ขณะที่น้ำพริกหนุ่มพาสเจอร์ไรซ์ที่เวลา 3 นาที พบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราเกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สัปดาห์ที่ 6
สุทธิศักดิ์ (2550) ทำการศึกษาน้ำพริกหนุ่มที่ผลิตจากพริกพันธุ์จักรพรรดิ์ ใช้ความดันที่ 400 และ 600 MPa ระยะเวลาในการคงความดัน 2 ช่วง คือ 20 และ 40 นาที เก็บรักษาแช่เย็น 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน พบว่า กิจกรรมของเอนไซม์ไลพอกซิจิเนสที่ความดัน 600 MPa สามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ได้มากกว่าที่ความดัน 400 MPa และความดันที่ 400 และ 600 MPa ที่เวลา 20 และ 40 นาที มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราของน้ำพริกหนุ่มน้อยกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในขณะที่การเก็บในถุงสุญญากาศ Nylon/LLDPE และ Aluminium foil เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วันเพียงอย่างเดียวปริมาณยีสต์และรามีปริมาณคงที่ จากคุณภาพด้านจุลชีววิทยาพบว่าในน้ำพริกหนุ่มในบรรจุภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณจุลินทรีย์เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 10 วัน
เมธินีและคณะ(2543) ทำการแปรรูปน้ำพริกหนุ่มบรรจุกระป๋อง โดยพริกชี้ฟ้าสด 58.24% กระเทียม 8.32% หอมแดง 24.96% ปลาร้า 6.66% น้ำปลา 0.82% เกลือป่น 0.82% และผงชูรส 0.18% ซึ่งเป็นสูตรที่ผู้บริโภคยอมรับที่สุด ในกระป๋องขนาด 307x108 น้ำหนักบรรจุ 180 กรัม ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดันไอน้ำ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 37 นาที ค่า f0 = 6 นาที หลังการฆ่าเชื้อน้ำพริกหนุ่ม มีความเป็นกรดลดลงเล็กน้อย มีการเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวออกน้ำตาล มีกลิ่นเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังเป็นที่ยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค
เมธินีและคณะ (2543) การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำน้ำพริกหนุ่มแช่แข็ง โดยใช้เครื่องแช่แข็งแบบลมนิ่ง นำน้ำพริกหนุ่มน้ำหนักบรรจุได้แก่ 250, 300 และ 400 กรัม เวลาในการแช่แข็ง เท่ากับ 6 ชั่วโมง 15 นาที 6 ชั่วโมง 35 นาที 6 ชั่วโมง 45 นาที พบว่าน้ำพริกหนุ่มมีจุดเยือกแข็งเท่ากับ -4 องศาเซลเซียส และเก็บเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าคุณภาพด้านกายภาพ เคมี ปริมาณจุลินทรีย์มีค่าคงเดิม และอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
•การยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่ม
พิทยาภรณ์ (2554) ทำการการยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่ม โดยการปรับกรดร่วมกับการเติมโซเดียมเบนโซเอต พบว่า การเติมกรดซิตริก ร้อยละ 0.3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร เพื่อทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงเป็น 4.4 ซึ่งค่าดังกล่าวจะมีผลต่อโซเดียมเบนโซเอตออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่าการโซเดียมเบนโซเอต 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับการเก็บในตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บได้เพิ่มเป็น 96 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับที่ไม่ได้เติมโซเดียมเบนโซเอตจะเก็บได้เพียง 64 ชั่วโมง แต่ภักดี (2551) รายงานว่าการเติมกรดซิตริก ทำให้น้ำพริกมีรสเปรี้ยว ผู้บริโภคไม่นิยม จึงไม่ค่อยพบน้ำพริกหนุ่มที่มีการปรับกรดในท้องตลาด
อรรถนพ (2551) รายงานว่า สภาวะที่เหมาะสมในการถนอมน้ำพริกหนุ่มโดยกระบวนการความดันสูงยิ่ง คือระดับความดัน 600 เมกะปาสคาล ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที เนื่องจากมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ต่ำที่สุดใช้เวลาคงความดันน้อยที่สุด และอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน
รังษิมา (2549) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการถนอมน้ำพริกหนุ่ม ด้วยวิธีกระบวนการความดันสูงที่ 500 และ 600 เมกะปาสคาล และการเก็บในดัดแปลงบรรยากาศหรือสภาวะสุญญากาศ ที่ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า สำหรับสภาวะในการเก็บ พบว่าสภาวะสุญญากาศและการแทนที่อากาศด้วยก๊าซไนโตรเจนให้ผลไม่แตกต่างกัน เนื่องจากต้นทุนต่ำกว่าถึง 2 เท่า ดังนั้นสภาวะสุญญากาศจึงเหมาะสมกับการใช้ถนอมน้ำพริกหนุ่ม แต่ในกระบวนการผลิต ถ้ามีการใช้ความดัน 600 เมกะปาสคาล นาน 20 นาที กับน้ำพริกหนุ่ม จะเหมาะต่อการถนอมน้ำพริกหนุ่มมากที่สุด ซึ่งคุณภาพทางเคมี กายภาพ และประสาทสัมผัส มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยไม่จำเป็นต้องใช้สภาวะสุญญากาศและการแทนที่อากาศด้วยก๊าซไนโตรเจน
การเปรียบเทียบน้ำพริกหนุ่มในเชียงใหม่
ที่มา https://www.wongnai.com/food-tips/green-chili-dip-nam-prick-noom-chiangmai
น้ำพริกหนุ่มซองเพาซ์
ที่มา http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=74 (ซ้าย)
http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=2 (ขวา)
นอกจากน้ำพริกหนุ่มสูตรดั่งเดิมแล้วก็มีการปรับสูตรอื่น ๆ อีก เช่นสูตรเพ็ดน้อย ปลาร้า และแมงดา
(1) (2)
(3) (4)
น้ำพริกหนุ่มขวด
ที่มา http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=109 (1)
http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=112 (2)
http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=110 (3)
http://www.vanusnun.com/th/product_detail.php?id=111 (4)
รายนามผู้จำหน่ายน้ำพริกหนุ่มและข้อมูลติดต่อ
•ร้านวนัสนันท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 398 ถนน เชียงใหม่-ลำปาง ตำบล ฟ้าฮ่าม อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ : 053-240-829 และ 053-243-010
•ร้านดำรงค์ ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ 053-234-661 และ 053-491-042
•ร้านแม่แช่ม 364 หมู่ 4 บ้านท่าเกวียน ตำบล หนองจ๊อม อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์: 053-498-236 ,089-700-9341
•ร้านศรีพรรณ ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบล ช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์: 053-251-837 และ 089-852-6225
•ร้านเจ๊หงษ์ ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ 053-233-429
•ร้านแหนมบุญศรี ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ 053-232-592
เอกสารอ้างอิง
กมลรัตน์ รวนมา. (2551). สารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดในน้ำพริกหนุ่ม. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธัญรัตน์พร ประทีปกุลวงศ์. (2551). คุณภาพการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่มจากพริกพันธุ์แม่ปิงที่ผ่านการพาสเจอไรซ์. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิทยาภรณ์ ตันติยากร. (2554). การยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่มโดยการปรับกรดร่วมกับการเติมโซเดียมเบนโซเอต. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภักดี ยืนยาว. (2551). ผลของสเตอริไลเซชันต่อคุณภาพของน้ำพริกหนุ่มจากพริกพันธุ์แม่ปิง. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมธินี เห่วซึ่งเจริญ, ศรีสุวรรณ นฤนาทวงศ์สกุล, พวงทอง ใจสันติ และเกตุการ ตาจันทา. (2543). การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำน้ำพริกหนุ่มแช่แข็ง. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมธินี เห่วซึ่งเจริญ, ศรีสุวรรณ นฤนาทวงศ์สกุล, พวงทอง ใจสันติ และเกตุการ ตาจันทา. (2543). กระบวนการแปรรูปน้ำพริกหนุ่มบรรจุกระป๋อง. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รังษิมา พิบูลชัยสิทธิ์. (2549). การยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่มด้วยวิธีดัดแปลงบรรยากาศและกระบวนการความดันสูง. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัตนา พรหมพิชัย. (2542). น้ำพริกหนุ่ม. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ . กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สิริพริมา วิภาธวัชชัยพร. (2557). การวิเคราะห์ปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม และเหล็ก ในน้าพริกหนุ่มที่จำหน่ายในตลาดสด เขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: โภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุทธิศักดิ์ เจษฎาไพสิฐ. (2550). ผลของความดันสูงยิ่งและการผนึกกันอากาศต่อการเก็บรักษาระยะสั้นของ น้ำพริกหนุ่มที่ผลิตจากพริกพันธุ์จักรพรรดิ์. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรรถนพ บุญญาคุณากร. (2551). การยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่มจากพริกพันธุ์แม่ปิงในระยะยาวด้วยกระบวนการความดันสูงยิ่ง. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. กระเทียม. ผักสมุนไพร: http://baabaaborbor.blogspot.com/2017/04/blog-
post_68.html (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ต้นหอม สรรพคุณมากมายจนคาดไม่ถึง: http://www.thaiarcheep.com/ต้นหอม-สรรพคุณมากมายจนค.html (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ผักชี. ประโยชน์ดอทคอม: http://prayod.com/ผักชี-coriander/ (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ประวัติน้ำพริกหนุ่ม อาหารขึ้นชื่อของเมืองล้านนา. น้ำพริกหนุ่ม: http://xn--12c1cbsrj1ducu7b7ld6c.blogspot.com/2014/04/history-namprik-num.html (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ประโยชน์ของหอมแดง. http://beezab.com/tag/ประโยชน์ของหอมแดง (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. พริกหนุ่ม. ระบบฐานข้อมูลสารอาหารไทย: http://www.thai-nutrient.com/?page=mat&genlangmat=01122014122020&mattype=3#ad-image-0 (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)